วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง Faculty of Information Technology King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang


ขอบคุณบทความจากIT@KMITL Forums

แนะนำคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
Faculty of Information Technology
King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang

 
ทำไมต้องคณะไอทีลาดกระบัง?
1.   ลักษณะสายงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ในประเทศไทยจะเหมาะกับหลักสูตรที่คณะ ไอทีลาดกระบังมากกว่า เพราะเป็นหลักสูตรที่เรียนทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ และเน้นเรื่องการประยุกต์ใช้งาน
2.   คณาจารย์มีคุณภาพ ใส่ใจ ให้การดูแล และมีความใกล้ชิดกับนักศึกษา
3.   มีอุปกรณ์ สื่อการเรียนการสอน ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัย ที่ใช้งานในบริษัทองค์กรไอทีชั้นนำทั่วไป
4.   การคมนาคมไปมาสะดวก มีเส้นทางให้เลือกมากมาย และหลายวิธี เช่น รถไฟ เรือ รถเมล์ รถตู้ รวมถึงมีถนนมอเตอร์เวย์ที่สามารถเดินทางมาที่คณะได้สะดวก
5.   บรรยากาศการเรียนการสอนเป็นกันเอง รับนักศึกษาจำนวนไม่มาก รู้จักกันหมด เป็นกันเอง โดยเน้นคุณภาพ
6.   มีนักศึกษาเป็นตัวแทนคณะไปแข่งขันได้รับรางวัลมากมาย มีเครือข่ายนักศึกษาศิษย์เก่าปริญญาโทจบจากคณะไอทีลาดกระบังมากมาย เพราะเป็นที่แรกที่เปิดสอนไอที ในระดับปริญญาโท
7.   มีความร่วมมือกับองค์กรไอทีชั้นนำ เช่น Cisco, Sun(Oracle), Microsoft



เรื่องราวทั่ว ๆ ไปเกี่ยวกับคณะ
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

1. เป็นคณะที่นำร่องของการออกนอกระบบ ของสจล. ดังนั้นเรื่องงบประมาณนั้นเต็มที่ ดูจากตึกของคณะและสาธารณูปโภคซึ่่งว่ากันว่าดีที่สุดในสถาบัน ตึกเรียนทั้งตึกเป็นแอร์(เหมือนอยู่ในห้าง)เพียงตึกเดียวของสถาบันและเพิ่ง ได้ตึกกิจกรรมสวยๆ อีกหนึ่งตึก

2. มันเยี่ยมมากสำหรับคนที่
      - อยากเรียน network นศ.ไอ ทีทุกคนที่ผ่านการเรียนตั้งแต่ปี 2 ขึ้นไป จะได้จับอุปกรณ์ด้าน network ของ Cisco ซึ่งราคาแพง สถาบันอื่นอาจจะไม่ได้มีโอกาสดีๆ เหมือนเรา รวมถึงเรายังเข้าร่วมโครงการ CNAP ทำให้เรามีโอกาสได้ Voucher สำหรับสอบ CCNA ด้วย
      - อยากเรียน Programming คณะมีความร่วมมือกับ SUN ทำให้นศ. ไอทีมีสิทธิ์ที่จะลงเรียนคอร์สอบรมเพื่อไปสอบ certificate ทาง Java (SCJP) พร้อมทั้งจะได้ส่วนลดสำหรับสอบ ซึ่งอาจารย์ที่เชี่ยวชาญขนาดสอนคอร์สนี้ได้ มีไม่มากนักในเมืองไทย
      - ไม่อยากเรียนวิชาพื้นฐานทางวิทย์และวิศวะมากเกินความจำเป็น เพราะที่นี่เราเรียนฟิสิกส์เพียง 1 ตัว และคณิตศาสตร์เพียง 3 ตัว เท่าที่จำเป็นเท่านั้น ไม่เหมือนวิทย์คอม หรือวิศวคอม ที่ต้องเสียเวลาเรียนวิชาพวกนี้เป็นปี
      - อยากได้ความรู้ทางการบริหาร เพราะจบไปแล้วเราต้องทำงานในภาคธุรกิจ ดังนั้นการรู้ไว้บ้างนับเป็นจุดได้เปรียบของคณะ
      - ต้องการเพิ่มทักษะทาง Multimedia นอก จาก track การเรียน ๆ ต่าง ๆ ทั้งสาม แล้วคณะเรายังมีการเรียนทางมัลติมีเดียอีกด้วย นับเป็นสิ่งที่หาได้ยากถ้าน้องไปเรียนคณะอื่นที่ไม่ใช่สายวิทย์
      - เร็ว ๆ นี้คณะมีแผนการจะเปิด track ใหม่ขึ้นมาอีก คือ Embedded System ซึ่ง เป็นการเรียนเกี่ยวกับระบบฝังตัว, หุ่นยนต์ ซึ่งจะทำให้คณะ พรั่งพร้อมไปด้วยศาสตร์ทุกแขนงซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์) และ Oracle (ระบบฐานข้อมูล) และเร็วๆ นี้กับ SAP

3.แม้ขณะนี้จะมีบัณฑิต เพียง 3 รุ่น แต่คณะได้ผลิตมหาบัณฑิตออกไปแล้วกว่า 20 รุ่น ซึ่งคณะเราเป็นสถาบันแรกๆที่สอนทางด้านไอทีโดยตรง โดยรุ่นพี่ระดับ ป.ตรีได้ไปสร้างชื่อเสียงในการแข่งขันทางวิชาการในระดับ ประเทศมากมาย เช่น Cisco Network Skills Competition 2006-2008, Microsoft Imagine Cup 2006-2007, Java Jive Regional Challenge 2008, Security Contest 2006-2007, รวมถึงมีทูตของ SUN (Sun Campus Ambassador มาแล้วถึง 2 รุ่น มากที่สุดในประเทศ) และ Microsoft Student Partner(MSP) ถึงสองรุ่นเช่นกัน

4.ความ ร่วมมือกับบริษัทชั้นนำต่างๆ มากมาย เช่น Microsoft (ซอฟต์แวร์แท้ใช้ได้ฟรี), SUN (SOA Competency Center), Cisco (อุปกรณ์จริง ที่อื่นไม่ค่อยมีให้ใช้นะครับ)
>>คำเตือน
ถึง แม้ในระเบียบจะบอกว่าเรียน ปีละ 2 เทอม แต่ในทางปฏิบัติแล้ว เหมือนเรียนเพียงเทอมเดียว เพราะตั้งแต่ปี2 เทอม1 วิชาภาคจะมีมินิโปรเจคประจำวิชา ซึ่งเป็นสาเหตุให้ นศ.ไอทีไม่มีการปิดเทอมเดือนตุลาคม 
:ชีทประกอบการสอนของทางคณะจะเป็นภาษาอังกฤษเกือบทุกวิชา แต่นั่นไม่น่าจะใช่ปัญหาสำหรับคนที่ไม่เก่งอังกฤษ ถ้าเข้าฟังบรรยายเป็นประจำ









<<ความแตกต่างของสาขาทางคอมพิวเตอร์>> 


สาขาที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์
- Information Technology (เทคโนโลยีสารสนเทศ)
- Computer science (วิทยาการคอมพิวเตอร์)
- Computer engineering (วิศวกรรมคอมพิวเตอร์)
- Information engineering (วิศวกรรมสารสนเทศ)
- Software engineering (วิศวกรรมซอฟต์แวร์)


- Information systems (ระบบสารสนเทศ)
เปรียบเทียบสาขาต่างๆ
Information Technology (เทคโนโลยีสารสนเทศ)
- เกิดขึ้นในช่วงหลังปี 1990
- แก้ปัญหาเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานทางคอมพิวเตอร์และสารสนเทศขององค์กร
- เน้นปฏิบัติ
- เน้นความรู้ที่เป็นไปตามความต้องการขององค์กร

Computer science (วิทยาการคอมพิวเตอร์)
- แยกตัวออกมาจากสาขาคณิตศาสตร์
- เกิดขึ้นในช่วงปี 1970
- เน้นทฤษฎี
- วิศวกรรมซอฟต์แวร์ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งในสาขานี้

Computer engineering (วิศวกรรมคอมพิวเตอร์)
- แยกตัวออกมาจากสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า กำเนิดในยุคปลายของช่วงปี 1970
- เกี่ยวข้องกับการสร้างคอมพิวเตอร์ และระบบที่เกี่ยวข้อง
- เกี่ยวข้องกับทั้ง Hardware และ Software

Information engineering (วิศวกรรมสารสนเทศ)
- ไม่มีการกล่าวถึงอย่างชัดเจนในเอกสารของ IEEE/ACM's
- ที่พระจอมเกล้าฯ ลาดกระบัง วิศวสารสนเทศจะเรียนเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์ และโทรคมนาคม รวมๆ กัน
-   ปัจจุบันมีเปิดสอนอยู่สองแห่ง คือหลักสูตรวิศวกรรมสารสนเทศ พระจอมเกล้าฯ   ลาดกระบัง และหลักสูตรวิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร ม.เทคโนโลยีมหานคร





เกี่ยวกับ IT KMITL
ค่าธรรมเนียมการศึกษา
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ เก็บค่าธรรมเนียมการศึกษาในอัตราเหมาจ่าย ภาคการศึกษาละ 20,000 บาท (ซึ่งถือว่าถูกเมื่อเทียบกับสาขาไอทีของสถาบันอื่น)









วิชาที่เรียนในปีหนึ่งของแต่ละสาขา ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์

หลักสูตรและวิชาเรียน
ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1
03010026 ภาษาอังกฤษพื้นฐาน 1
ฝึก ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการฟัง การพูด การอ่าน   และการเขียนในบริบทที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน ฝึกการใช้พจนานุกรม   ศึกษาศัพท์ สำนวน และภาษาจากบทอ่านที่คัดเลือกจากสิ่งพิมพ์ต่างๆ เช่น   วารสาร หนังสือพิมพ์ ทบทวนโครงสร้างไวยากรณ์ และการใช้ภาษาในโอกาสต่างๆ

05300130 ฟิสิกส์เบื้องต้น
ฟิสิกส์ ดั้งเดิมเบื้องต้น (แรง กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน สถิตยศาสตร์สำหรับอนุภาค   การเคลื่อนที่และแรงสำหรับอนุภาค) แม่เหล็กและไฟฟ้า ไฟฟ้าสถิต   ไฟฟ้ากระแสตรงและกระแสสลับ สนามไฟฟ้า พลังงานและศักย์ ตัวนำและไดอิเล็กทริก   ความจุไฟฟ้า สนามและแรงแม่เหล็ก วัสดุแม่เหล็กและการเหนี่ยวนำ   ควอนตัมฟิสิกส์เบื้องต้น (คุณสมบัติแบบอนุภาคของคลื่น   คุณสมบัติแบบคลื่นของอนุภาค กฎความไม่แน่นอน) โครงสร้างอะตอม แบบจำลองอะตอม   ฟิสิกส์ สารกึ่งตัวนำ และรอยต่อพี-เอ็น

05016760 คณิตศาสตร์ 1
ลิมิ ตและความต่อเนื่อง อนุพันธ์ของฟังก์ชัน อนุพันธ์อันดับสูง   การประยุกต์ของอนุพันธ์ ปัญหาค่าสูงสุดและต่ำสุดของฟังก์ชัน   การอินทิเกรตและเทคนิคของการอินทิเกรต การประยุกต์ของการอินทิเกรต   ฟังก์ชันสองตัวแปร อนุพันธ์ย่อยพีชคณิตเชิงเส้นเบื้องต้น   เมทริกซ์และดีเทอร์มิแนนท์ ระบบสมการเชิงเส้น    และการหาผลเฉลยของระบบสมการเชิงเส้น

06016101 การแก้ปัญหาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
กลยุทธ์ สำหรับการตรวจสอบปัญหา เทคนิคเบื้องต้นสำหรับการแก้ปัญหา   การเรียบเรียงปัญหาใหม่ แผนภาพกระแสเชิงเหตุ   คณิตศาสตร์พื้นฐานสำหรับการแก้ปัญหา การสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
(ใน วิชานี้เราจะปูพื้นฐานการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้น้องๆ ครับ   โดยจะมีการฝึกเขียนผังงาน (Flow Chart) การเขียนโปรแกรมแก้ปัญหาโจทย์ต่างๆ   โดยใช้ภาษา Python และจะมีโครงงานย่อยให้ทำการออกแบบโปรแกรมหรือเกมเพื่อโชว์ในงาน IT OpenHouse น้องๆ ที่สนใจสามารถดูผลงานเก่าๆ ของพวกพี่ๆ ได้ที่ IT FreshEx 2009 และ IT FreshEx 2010 ครับ)

06016102 ระบบดิจิทัลเบื้องต้น
ระบบ ฐานสอง และระบบที่ไม่ใช่ฐานสอง พีชคณิตบูลีน เทคนิคการออกแบบเชิงดิจิทัล   ลอจิกเกตและการลดจำนวน วงจรเชิงผสมและเชิงลำดับ ฟลิปฟล็อป การออกแบบตัวนับ   วงจรแบ่ง เรจิสเตอร์ และหน่วยคำนวณและตรรกะ   การแปลงสัญญาณดิจิทัลเป็นสัญญาณแอนะล็อก   และการแปลงสัญญาณแอนะล็อกเป็นดิจิทัล ตัวถอดรหัส หน่วยความจำ   ไมโครคอมพิวเตอร์เบื้องต้น   ตัวอย่างการประยุกต์ระบบอิเล็กทรอนิกส์และดิจิทัลในการใช้งานจริง
(ใน ส่วนของวิชานี้ น้องๆ จะได้เรียนรู้ทฤษฎีพื้นฐานของวงจรลอจิก   พีชคณิตบูลลีน  ซึ่เป็นพื้นฐานของระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหลายครับ   นอกจากเรียนทฤษฎีในห้องแล้ว น้องยังจะได้สัมผัสกับแลปปฏิบัติทางวงจรดิจิตอล   ให้น้องได้ต่อวงจรกันตลอดเทอมกันเลยทีเดียว ^^)

06016103 พื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
วิวัฒนาการ  ของเทคโนโลยีสารสนเทศ องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ ระบบประมวลผลข้อมูล   ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ข้อมูลและการแทนค่าข้อมูล การจัดการข้อมูล   แนวคิดพื้นฐานสำหรับการสร้างโปรแกรม เทคโนโลยีฐานข้อมูล การสื่อสารข้อมูล   ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต   ประเด็นทางด้านจริยธรรมและสังคมกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
(ส่วน วิชานี้จะสอนให้น้องๆ ได้รู้จักพื้นฐานคร่าวๆ เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และไอที   ประมาณว่าจับวิชาของทั้งคณะมา Intro ให้ในวิชานี้ครับ   นอกจากจะได้เรียนรู้ในด้านทฤษฎีแล้ว   น้องยังจะได้ลงแลปปฏิบัติการจริงด้วยครับ)


ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2
03010027 ภาษาอังกฤษพื้นฐาน 2
ฝึกทักษะการใช้ภาษา อังกฤษในการอ่าน เขียน ฟัง และพูดเพื่อการศึกษา เช่น   การใช้หนังสืออ้างอิง การอ่านกราฟ ตาราง ฯลฯ การเขียนบทสรุป ฟัง พูด   โต้ตอบแสดงความเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านหรือฟังได้ รวมทั้งทบทวนโครงสร้าง   ไวยากรณ์ และการใช้ภาษาโอกาสต่างๆ เพิ่มเติม

05016761 คณิตศาสตร์ 2
พีชคณิต เชิงเส้น เวกเตอร์สเปซ การแปลงเชิงเส้น การแปลงเมทริกซ์   เมทริกซ์เชิงตั้งฉาก ค่าเจาะจงและเวกเตอร์เจาะจง   สมการเชิงอนุพันธ์สามัญเชิงเส้น  ระบบสมการเชิงอนุพันธ์   การหาผลเฉลยของระบบสมการเชิงอนุพันธ์ การแปลงลาปลาซและการประยุกต์   สมการเชิงอนุพันธ์ย่อย อนุกรมฟูเรียร์ ฟูเรียร์อินทิกรัล การแปลงฟูเรียร์

05400150 ความน่าจะเป็นและสถิติ
ความ น่าจะเป็นและตัวแปรสุ่ม การแจกแจงความน่าจะเป็นแบบไม่ต่อเนื่องและแบบ   ต่อเนื่อง ฟังก์ชันของตัวแปรสุ่ม การแจกแจงของตัวอย่าง การประมาณค่า   การทดสอบสมมติฐาน การถดถอยอย่างง่ายและการถดถอยเชิงซ้อนในตัวแบบ เชิงเส้น   การวิเคราะห์สหสัมพันธ์

06016104 การสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์
การ วิเคราะห์และกระบวนการแก้ปัญหา ผังงาน แนะนำภาษาการสร้างโปรแกรม   แนวคิดของโปรแกรมภาษาซี การแก้ปัญหาด้วยภาษาซี   ข้อมูลและชนิดของข้อมูลในภาษาซี ฟังก์ชันเบื้องต้น และข้อความสั่งกำหนดค่า   โครงสร้างการวนซ้ำและเงื่อนไข การสร้างโปรแกรมเชิงโมดูล   โครงสร้างโดยทั่วไปของฟังก์ชันภาษาซี การทำงานกับฟังก์ชัน   แถวลำดับและตัวชี้ ชนิดข้อมูลที่ผู้ใช้กำหนดเอง แฟ้มอินพุตและเอาต์พุต
(เป็นภาคต่อของวิชาเขียนโปรแกรมในเทอมแรกครับ เทอมนี้น้องจะได้เรียนรู้หลักในการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา C   ซึ่งเป็นภาษาพื้นฐานของภาษาคอมพิวเตอร์สำคัญๆ ในยุคปัจจุบันครับ แน่นอนว่า   วิชานี้มีโครงงานย่อยให้น้องๆ ได้ออกแบบและพัฒนาโปรแกรมของน้องๆ เองด้วย   ^^)

06016105 โครงสร้างระบบคอมพิวเตอร์
วิวัฒนาการของ คอมพิวเตอร์ องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์และการเชื่อมต่อระหว่างกัน   หน่วยความจำแคช หน่วยความจำภายใน หน่วยความจำภายนอก อินพุตและเอาต์พุต   การสนับสนุนของระบบปฏิบัติการ   วิธีการคำนวณทางคณิตศาสตร์ของเครื่องคอมพิวเตอร์   คุณลักษณะหน้าที่และภาวการณ์กำหนดที่อยู่ของชุดคำสั่งเครื่อง   โครงสร้างและหน้าที่ของหน่วยประมวลผลกลาง สถาปัตยกรรมของเครื่องคอมพิวเตอร์   หน่วยควบคุม การประมวลผลแบบขนาน การควบคุมไมโครโปรแกรม
(อย่าง ที่น้องๆ ทราบกันว่า ส่วนประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์ก็คือหน่วยประมวลผล   ในวิชานี้เราจะเจาะลึกลงไปในหน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์   ว่าแต่ละส่วนทำงานอย่างไร มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับส่วนอื่นอย่างไร   ที่สำคัญน้องๆ ยังจะได้สร้าง CPU จำลอง   จากความรู้ความเข้าใจและจินตนาการของน้องๆ เองด้วยล่ะ!)

06016106 เทคโนโลยีสื่อประสมเบื้องต้น
ระบบ สื่อประสม ประเภทของข้อมูลสื่อประสม การสร้างสื่อประสม   การประมวลผลข้อมูลสื่อประสม การส่งผ่านข้อมูลสื่อประสม   รูปแบบแฟ้มข้อมูลสื่อประสม อุปกรณ์เก็บข้อมูลสื่อประสม   การนำเสนอข้อมูลสื่อประสม การประยุกต์ใช้งานสื่อประสม
(ใน ส่วนของวิชานี้ จะพูดถึงสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาพ เสียง   และสื่อมัลติมีเดียต่างๆ น้องจะได้รู้ว่าทำไมไฟล์รูปภาพขนาดเท่ากัน   ถึงมีขนาดต่างกัน วีดีโอแบบ HD คืออะไร อะไรคือ XHTML1.1 CSS3 HTML5   หาคำตอบได้จากวิชานี้ครับ)


ปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1
05010162 คณิตศาสตร์ไม่ต่อเนื่อง
ระบบ ตัวเลข ตรรกและเซ็ท ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน คอมบินาทอรี่ส์ กราฟและทรี   พีชคณิตบูลีน ระบบพีชคณิต ทฤษฎีสารสนเทศและการเข้ารหัสและระบบสถานะจำกัด
(คณิตศาสตร์กับไอที มาบรรจบกันตรงนี้ล่ะครับ หุหุ)

06016107 พื้นฐานทางธุรกิจสำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศ
การ แนะนำหน้าที่ต่างๆ ในระบบธุรกิจ แนวคิดทางการตลาด การจัดการทางการตลาด   สภาพแวดล้อมทางการตลาด มุมมองด้านการจัดการ กระบวนการจัดการ   การจัดการทรัพยากรมนุษย์ การผลิตและผลิตภาพ การบัญชีและการเงิน   จริยธรรมทางธุรกิจและความรับผิดชอบต่อสังคม
(วิชา นี้จะสอนให้น้องๆ   ได้รู้จักกับกระบวนการต่างๆ ขององค์กรธุรกิจ ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อน้องๆ   จบออกไป น้องจะได้เข้าทำงานในองค์กร บริษัทต่างๆ   การที่น้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการบริหารจัดการองค์กรก็จะทำให้เรา  สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับองค์กรนั้นๆ ได้อย่างราบรื่นครับ   หรือหากน้องตั้งใจจะเปิดบริษัทเขียนโปรแกรมเอง   น้องก็ยังต้องใช้พื้นฐานทางธุรกิจมาช่วยอยู่ดี จริงไหม? ^^)

06016108 โครงสร้างข้อมูล
ชนิด ของข้อมูล โครงสร้างข้อมูลและชนิดข้อมูลแบบนามธรรม โครงสร้างข้อมูลพื้นฐาน   เช่น ลิสท์ สแต็ก และคิว โครงสร้างข้อมูลแบบพลวัต คำศัพท์เฉพาะเกี่ยวกับ   ทรี ไบนารีทรี ไบนารีเสิร์ชทรี เอวีแอลทรี กราฟ   การเรียงลำดับและการค้นหาข้อมูล
(เทคโนโลยี  สารสนเทศ ก็คือเทคโนโลยีที่เกี่ยวพันกับการจัดการข้อมูล   ในวิชานี้น้องจะได้รู้จักกับอัลกอริทึมของการเก็บข้อมูลด้วยโครงสร้างแบบ  ต่างๆ รวมถึงการประยุกต์ใช้งานให้เหมาะสมด้วยครับ)

06016109 การสร้างโปรแกรมเชิงอ็อบเจกต์
การ ออกแบบและพัฒนาโปรแกรมเชิงอ็อบเจกต์ การห่อหุ้ม การสืบทอด และภาวะพหุสัณฐาน   การพัฒนาส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้และการจัดการกับเหตุการณ์   โครงสร้างข้อมูลแบบแถวลำดับและคอลเลคชัน การจัดการกับสิ่งผิดปรกติ   คลาสที่เกี่ยวข้องกับอินพุตและเอาต์พุต เธรด
(ใน ปี 1 เมื่อน้องๆ มีทักษะในการเขียนโปรแกรมแบบเรียงลำดับมาแล้ว   ในขั้นนี้น้องจะได้เรียนรู้วิธีการเขียนโปรแกรมในแบบที่ต่างออกไป นั่นคือ   การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ นั่นเอง ในวิชานี้เราจะใช้ภาษา Java กันเป็นหลักนะครับ แน่นอนว่า ปลายเทอมน้องจะได้พัฒนาโปรแกรมขึ้นมา 1 ตัว โดยใช้ความรู้จากที่เรียนมาครับ)

06016110 แนวคิดเชิงอ็อบเจกต์
โลก ความจริงและการจำลองเชิงอ็อบเจกต์ วิวัฒนาการของภาษาโปรแกรม   รูปแบบการสร้างโปรแกรมเชิงอ็อบเจกต์ หลักการห่อหุ้ม คลาสและอ็อบเจกต์   ฟังก์ชันและการส่งสาร การสืบทอดคุณลักษณะ ภาวะพหุสัณฐาน   แนะนำภาษาโปรแกรมเชิงอ็อบเจกต์   การวิเคราะห์และออกแบบเชิงอ็อบเจกต์ด้วยเคสทูล
(วิชา นี้จะคล้ายๆ กับวิชาข้างบน แตกต่างที่เราไม่ได้ใช้ภาษาโปรแกรมเป็นสื่อกลาง   แต่เราจะเรียนรู้หลักการและแนวคิดเชิงวัตถุด้วยการมองสิ่งที่อยู่รอบตัว เรา  ครับ วิชานี้น้องจะได้ใช้จินตนาการ และความ ART ของน้อง   มองสิ่งรอบกายให้ออกมาเป็นอ็อบเจกต์ น่าสนุกใช่ไหมล่ะ!)

06016111 การสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย
พื้น ฐานการสื่อสารข้อมูลและการเชื่อมโยงเครือข่าย นิยามของสถาปัตยกรรมแบบ จำลอง   โพรโทคอล และมาตรฐาน แบบจำลองโอเอสไอและความหมายในแต่ละชั้น   แนวคิดการแปลงข้อมูลเป็นสัญญาณและการรับส่ง   ข้อจำกัดและปัจจัยที่มีผลในทางลบต่อการส่งข้อมูล   การแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปสัญญาณที่เหมาะสม โหมดการรับส่ง   การรับส่งแบบอะซิงโครนัสและซิงโครนัส การมัลติเพล็กซ์ การสวิทช์   สื่อตัวกลางในการรับส่งข้อมูล เครือข่ายดิจิตอลความเร็วสูง   การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลและการแก้ไขข้อมูลที่ผิดพลาด   การควบคุมและตรวจสอบความถูกต้องของการไหลของข้อมูล   โพรโทคอลการเข้าถึงช่องทางการสื่อสารพร้อมๆ กัน
(วิชา นี้เป็นการปูพื้นสำหรับน้องที่ชื่นชอบในเทคโนโลยีการสื่อสารและเครือข่าย   น้องจะได้รู้ว่า ข้อมูลต่างๆ ที่ส่งผ่านไปๆ มาๆ   ในระบบอินเทอร์เน็ตมันทำอย่างไรถึงส่งไปหาได้ถูกคน   ทำไมคอมพิวเตอร์ทั่วโลกถึงคุยกันได้? IP คืออะไร? วิชานี้มีคำตอบครับ)

ปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2
03010065 ภาษาอังกฤษสำหรับธุรกิจ
ศึกษา และฝึกการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ   โดยเน้นความเข้าใจในการอ่านข้อเขียนทางธุรกิจประเภทต่าง ๆ การใช้ศัพท์   สำนวน และภาษาในเชิงธุรกิจ การเขียนจดหมายบันทึกช่วยจำ   รวมทั้งการฝึกฟังและพูดในสถานการณ์ต่างๆ ทางธุรกิจ

06016012 การวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศ
สภาพ แวดล้อมการพัฒนาระบบทั้งวิธีเชิงโครงสร้างและเชิงวัตถุ   การวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศเชิงโครงสร้างและเชิงวัตถุ   การจัดการโครงการสารสนเทศ กำหนดความต้องการระบบ แบบจำลองการวิเคราะห์   แบบจำลองการออกแบบ การออกแบบระบบ การออกแบบระดับข้อมูล   การออกแบบระดับส่วนต่อประสานผู้ใช้ การออกแบบสถาปัตยกรรมชั้นกายภาพ   การสร้าง การติดตั้งและการดำเนินการ

06016113 แนวคิดระบบฐานข้อมูล
การ แนะนำฐานข้อมูลและระบบจัดการฐานข้อมูล ระบบแฟ้มข้อมูล   ระบบฐานข้อมูลและสภาพแวดล้อม ฟังก์ชันของระบบจัดการฐานข้อมูล   ชนิดของฐานข้อมูล แบบจำลองข้อมูล แบบจำลองฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ ตาราง คีย์   กฎบูรณภาพ พีชคณิตเชิงสัมพันธ์ พจนานุกรมข้อมูล   แบบจำลองความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี การนอร์มัลไลซ์ เอสคิวแอล   การจัดการรายการเปลี่ยนแปลง วงจรชีวิตการพัฒนาฐานข้อมูล การบริหารฐานข้อมูล

06016114 เทคโนโลยีเครือข่ายและอินเทอร์เน็ต
เทคโนโลยี การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่าย และการเชื่อมโยงเครือข่ายเข้าด้วย   กัน เครือข่ายท้องถิ่น (แลน) เครือข่ายแลนแบบอีเทอร์เน็ต   แลนแบบเซกเมนต์เดียว การต่อขยายเป็นแลนแบบหลายเซกเมนต์ การเชื่อมประสาน   การเชื่อมโยงเครือข่ายแบบมีเส้นทางซ้ำซ้อน กลไกการป้องกันการวนซ้ำ   เครือข่ายแลนเสมือน เครือข่ายแลนไร้สาย เครือข่ายเชื่อมโยงระยะไกล        โพรโทคอลชั้นเครือข่ายแบบอินเทอร์เน็ตโพรโทคอล (ไอพี)   และโพรโทคอลที่เกี่ยวเนื่องกัน โพรโทคอลหาเส้นทาง โพรโทคอลชั้นทรานสปอร์ต   เช่น แบบ ทีซีพีและยูดีพี   โพรโทคอลชั้นแอพพลิเคชันที่ทำให้เกิดบริการบนเครือข่าย ระบบชื่อโดเมน   จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การถ่ายโอนแฟ้ม และเวิล์ดไวด์เว็บ

06016115 ระบบปฏิบัติการ
โครง สร้างและหน้าที่ของระบบปฏิบัติการ แนวคิดของกระบวนการ เธรด   การสร้างโปรแกรมพร้อมกัน การประสานเวลาของกระบวนการ   การจัดกำหนดการของกระบวนการ การจัดการหน่วยความจำ หน่วยความจำเสมือน   ระบบแฟ้มและอินพุตและเอาต์พุต ตัวอย่างระบบปฏิบัติการ

06016116 การวิเคราะห์และออกแบบขั้นตอนวิธี
การ ออกแบบขั้นตอนวิธีเบื้องต้น การวิเคราะห์ขั้นตอนวิธี การค้นหา   การเรียงลำดับ ขอบเขตเฉลี่ยและกรณีแย่ที่สุดเชิงเวลาและเนื้อที่   กำหนดการพลวัต วิธีการแบ่งและเอาชนะ วิธีการแบบละโมบ ขั้นตอนวิธีของกราฟ   ปัญหาแบบเอนพีคอมพลีต

ปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 1
03010066 การเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
ศึกษา และฝึกการเขียนเพื่อการสื่อสาร โดยเน้นฝึกการเขียนจดหมายในลักษณะต่าง ๆ   เขียนรายงาน คำสั่ง คู่มือการใช้ ประวัติส่วนตัว   รวมทั้งการเขียนบรรยายสิ่งของ สถานที่ เหตุการณ์และกระบวนการ

06016117 การออกแบบส่วนต่อประสานกับมนุษย์
การ รับรู้ การคิดอ่านรู้จำ การให้เหตุผล และการแก้ปัญหาของมนุษย์   เทคโนโลยีในการต่อประสานระหว่างมนุษย์และเครื่อง (เช่น   อุปกรณ์ป้อนข้อมูลตัวอักษร อุปกรณ์กำหนดจุดและตำแหน่ง เทคโนโลยีเสียงพูด   และอุปกรณ์ความจริงเสมือน) แบบจำลองการปฏิสัมพันธ์ รูปแบบของการปฏิสัมพันธ์   (เช่นการต่อประสานด้วยชุดคำสั่ง การต่อประสานด้วยเมนู   การต่อประสานด้วยภาษาธรรมชาติ) ไฮเปอร์เท็กซ์และไฮเปอร์มีเดีย   กระบวนการในการออกแบบและเครื่องมือช่วยออกแบบ เทคนิคการประเมิน

06016118 การสร้างโปรแกรมเว็บ
การพัฒนาได นามิกเว็บเพจ โพรโทคอลเอชทีทีพี แม่ข่ายเว็บ   การพัฒนาโปรแกรมเว็บฝั่งแม่ข่าย การจัดการคุ้กกี้ การติดตามเซสชัน   การพัฒนาโปรแกรมเว็บติดต่อกับฐานข้อมูล จาวาสคริปต์และเทคโนโลยีเอแจ๊กซ์

06016119 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
บทบาท ของเทคโนโลยีสารสนเทศในธุรกิจ แนวคิดระบบสารสนเทศและการจัดการ   ระบบสารสนเทศตามลักษณะที่สนับสนุนการทำงาน ระบบสารสนเทศระดับองค์กร   การวางแผนเทคโนโลยีสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ การได้มาซึ่งระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ   การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ ความปลอดภัยของระบบสารสนเทศ   จริยธรรมและประเด็นทางสังคม

06016___ วิชาเลือกทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 1 (คลิกเพื่อดูรายชื่อวิชา)

06016___ วิชาเลือกทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 2 (คลิกเพื่อดูรายชื่อวิชา)
(มาถึงตรงนี้แล้ว จะเป็นการเลือกวิชาเรียนตามใจน้องเองแล้วครับ ซึ่งวิชาเลือกทางไอทีจะมีให้น้องเลือกเรียนหลากหลายตามความสนใจครับ)



ปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 2
06016120 ความปลอดภัยของระบบสารสนเทศ
ความ ไม่ปลอดภัยของข้อมูลและช่องโหว่   รวมถึงการประเมินและวิเคราะห์ความเสี่ยงในระบบสารสนเทศ   การจัดการความปลอดภัยระบบสารสนเทศ    การเข้ารหัสและถอดรหัสเพื่อความปลอดภัยของข้อมูล การพิสูจน์ตัวตน   การควบคุมการเข้าถึงข้อมูล อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ การป้องกันและการสืบสวน   การรักษาความปลอดภัยบนเครือข่าย นโยบายรักษาความปลอดภัย

06016121 วิศวกรรมซอฟต์แวร์
ภาพรวม ของวิวัฒนาการซอฟต์แวร์ กลุ่มซอฟต์แวร์และลักษณะที่เปลี่ยนแปลง   ความเชื่อเกี่ยวกับวิศวกรรมซอฟต์แวร์ กรอบงานของกระบวนการวิศวกรรมซอฟต์แวร์   แบบจำลองวุฒิภาวะและความสามารถเชิงบูรณาการ (ซีเอ็มเอ็มไอ)   การประเมินกระบวนการ แบบจำลองบัญญัติ แบบจำลองกระบวนการเชิงวิวัฒน์   วิศวกรรมซอฟต์แวร์จากคอมโพเน้นท์ การพัฒนาซอฟต์แวร์เชิงแง่มุม   วิธีปฏิบัติด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์ วิศวกรรมกระบวนการธุรกิจ   วิศวกรรมความต้องการ แง่มุมของแบบการวิเคราะห์ กระบวนการออกแบบและคุณภาพ   การออกแบบรูป แนะนำการทดสอบซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์เบ็ดเสร็จ   แนะนำการจัดการโครงงานซอฟต์แวร์ การวัดสำหรับผลิตภัณฑ์    กระบวนการและโครงงาน โครงแบบซอฟต์แวร์

06016122 เศรษฐศาสตร์เทคโนโลยีสารสนเทศ
หลัก การเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น   แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับกระบวนนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี   ตลาดเทคโนโลยีสารสนเทศ การประเมินการลงทุนทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ   ผลกระทบของการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและ   อุตสาหกรรม การจ้างงาน การเจริญเติบโตของธุรกิจ ผลิตภาพ   การถ่ายทอดเทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา การปรับตัวเข้าสู่สังคมสารสนเทศ

06016125 การจัดการโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ
หลัก ของกลยุทธ์ในการจัดการโครงการ วงจรชีวิตของโครงการ การศึกษาความเป็นไปได้   ธรรมชาติของเทคโนโลยีสารสนเทศ การวิเคราะห์ส่วนสำคัญต่างๆ   ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาโครงการ เช่น สิ่งแวดล้อมของโครงการ   การจัดการคณะทำงาน และการจัดการเวลาและทรัพยากรของโครงการ

06016123 สัมมนาทางด้านทักษะการสื่อสารในวิชาชีพ
ทักษะ ต่างๆ สำหรับการสมัครงานและการประกอบอาชีพ เทคนิคการเขียนจดหมายสมัครงาน   เทคนิคการสอบสัมภาษณ์งาน  การพัฒนาบุคลิกภาพและการแต่งกาย   ทักษะในการนำเสนองานทางธุรกิจ  ทักษะในการพูดและการสื่อสาร   มารยาทในการเข้าสังคม การบริหารอารมณ์

06016___ วิชาเลือกทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 3 (คลิกเพื่อดูรายชื่อวิชา)

06016___ วิชาเลือกทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 4 (คลิกเพื่อดูรายชื่อวิชา)






ปีที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 1

________ วิชาเลือกเสรี
(น้องสามารถลงเรียนวิชาใดๆ ก็ได้ ที่สถาบันนี้เปิดสอนครับ เช่น อยากเรียนเขียนแบบ ก็ลงเรียนวิชาเขียนแบบของวิศวะได้ครับ ^^)

031000__ วิชาเลือกทางมนุษยศาสตร์
(น้อง สามารถเลือกเรียนวิชาทางมนุษย์ศาสตร์ได้ 1 ตัวครับ   ซึ่งก็มีให้เลือกหลากหลายตามความสนใจ เช่น จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ   สารนิเทศศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พลศึกษา เป็นต้น)

031000__ วิชาเลือกทางสังคม
(เช่น เดียวกัน น้องสามารถเลือกเรียนวิชาทางสังคมได้ 1 ตัวครับ เช่น   กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรม หลักการบริหาร เป็นต้น)

06016024 โครงงาน 1
ศึกษา ค้นคว้าหรือวิจัย ในหัวข้อปัจจุบันที่น่าสนใจทางเทคโนโลยีสารสนเทศ   ภายใต้การดูแลและแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อที่จะสามารถนำเสนอหัวข้อ   และผลการทดลองเบื้องต้นที่ได้จากการแก้ปัญหาเชิงปฏิบัติการ   หรือจากการวิเคราะห์เชิงวิชาการ

06016___ วิชาเลือกทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 5 (คลิกเพื่อดูรายชื่อวิชา)


ปีที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 2
________ วิชาเลือกเสรี

06016026 โครงงาน 2
ศึกษา ค้นคว้าหรือวิจัย ในหัวข้อปัจจุบันที่น่าสนใจทางเทคโนโลยีสารสนเทศ   ภายใต้การดูแลและแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษา   เพื่อที่จะสามารถนำเสนอผลการทดลองที่สมบูรณ์ในหัวข้อที่ได้เสนอและศึกษา ต่อ   เนื่องมาจากวิชาโครงงาน 1

06016027 กฎหมายและจริยธรรมทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
ทรัพย์สิน ทางปัญญา ความเป็นเจ้าของสารสนเทศ กฎหมายเกี่ยวกับลิขสิทธิ   สิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้า ความลับทางการค้า อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์   วัฒนธรรมองค์กร ความเป็นมืออาชีพ กฎระเบียบหลักเกณฑ์ทางวิชาชีพ   ปัญหาเกี่ยวกับจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ   ความเป็นส่วนตัวและความลับ การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์

06016___ วิชาเลือกทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 6 (คลิกเพื่อดูรายชื่อวิชา)


รายละเอียดเพิ่มเติม









จบไปแล้วทำงานอะไร??
สำหรับ  เมืองไทยในปัจจุบัน ไม่ว่าจะจบจากสาขาไหนก็มักจะได้งานในสายงานคล้ายๆ กัน   ซึ่งโดยส่วนมากการที่องค์กรต่างๆ จะรับใครเข้าทำงาน   มักจะพิจารณาจากความสามารถเป็นสำคัญ (สังเกตได้จากประกาศรับสมัครงานต่างๆ   จะมีเงื่อนไขที่ระบุว่า "สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง")   ซึ่งนักศึกษาของคณะไอทีจะได้เรียนรู้ทักษะทางด้านไอทีในทุกด้าน   และจะมีด้านเฉพาะทางที่ตัวเองถนัดร่วมด้วย เช่น ด้านระบบเครือข่าย   ด้านโปรแกรมมิ่ง เป็นต้น ซึ่งสายงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องก็จะมีดังนี้

สาย Software
- Programmer
- Web Developer
- Software Engineer
- Software Tester
สาย Info System
- System analyst
- Database designer
สาย Infrastructure
- System admin
- Network admin
- Database Admin
- Network engineer

เงินเดือนเด็กจบใหม่เฉลี่ยของคณะ IT = 18,000 บาท*
*ข้อมูลล่าสุดปี  2550 โดยผลสำรวจจากนักศึกษาคณะ IT รุ่น 1



ขอบคุณข้อมูลจาก http://forums.it.kmitl.ac.th

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ27 มีนาคม 2556 เวลา 14:08

    หนูเด็กสาย คณิต-อังกฤษ เข้าได้ไหม แต่หนูอ่อนคณิตมากมันจะมีปัญหารึเปล่าถ้าเราเข้าเรียน

    ตอบลบ